วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติ แบ้งค์ วงแคลช


ประวัติของ แบงค์ วงแคลช

 
ชื่อจริง ปรีติ บารมีอนันต์
ชื่อเล่น แบงค์
เกิด 20 ตุลาคม พ.ศ. 2525 (อายุ 27 ปี)
อาชีพ นักร้อง นักแสดง
ปีที่แสดง 2544-ปัจจุบัน
แนวเพลง ร็อก
ค่าย อัพ จี
ส่วนเกี่ยวข้อง แคลช


ปรีติ บารมีอนันต์ (อังกฤษ:Preeti Barameeanant) (ชื่อเล่น แบงค์) เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2525 เป็นนักร้องนำวงแคลช ศึกษาจบจากโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว และระดับอุดมศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[1]

แบงค์ได้รวมตัวกับเพื่อนที่เรียนด้วยกันที่โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ก่อตั้งวงที่ชื่อว่า LUCIFER และร่วมประกวดในงาน ฮอตเวฟ มิวสิค อวอร์ด ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2540

แบงค์ได้รับรางวัลนักร้องนำยอดเยี่ยม และรองชนะเลิศอันดับ 1 Hot Wave Music Awards # 3 ปี 2541

แม้ว่าจะไม่ได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่ก็ได้รับการติดต่อให้เข้ามาออดิชันทีแกรมมี จนได้เซ็นสัญญากับทางต้นสังกัด และได้เปลี่ยนชื่อวงมาเป็น "แคลช" โดยเริ่มมีผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2544

ชื่อชุด One และมีผลงานต่อเนื่อง ซึ่งในปี พ.ศ. 2551 ก็มีผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 6 ที่ชื่อ Rock of Ages

ทางด้านผลงานการแสดง ในปี พ.ศ. 2547 มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตเรื่อง พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว แสดงร่วมกับหนุ่ม วงกะลา และในปี 2551 กับภาพยนตร์เรื่อง ท้า/ชน หรือ Fireball

นอกจากนี้ธุรกิจอื่น แบงค์และเพื่อนร่วมวงแคลชยังทำธุรกิจ ร้านอาหารที่มีชื่อว่า แคลงก์ (Clank) ที่บริเวณถนนศรีนครินทร์ หลังห้างซีคอนสแควร์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมกับขันเงิน และเดย์ ศิลปินจากวงไทยเทเนี่ยม

แบงค์ยังได้รับ การประกาศยกย่องจาก สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ประจำปี 2549 โดยจะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในงาน “วันแม่แห่งชาติ” เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2549

ผลงานของ แบงค์ วงแคลช

 
อัลบั้มเต็ม
ลำดับที่ ชื่ออัลบั้ม วันวางแผง
1. One 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544
2. Soundshake 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
3. Brainstorm 24 สิงหาคม พ.ศ. 2547
4. Emotion 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548
5. Crashing 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
6. Rock of Ages 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551


อัลบั้มพิเศษ
ลำดับที่ ชื่ออัลบั้ม วันวางแผง
1. Soundcream 27 มิถุนายน พ.ศ. 2546
2. เพลงประกอบภาพยนตร์พันธุ์ x เด็กสุดขั้ว 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547
3. Crazy Clash 10 ธันวาคม พ.ศ. 2547
4. Double Rock Double Hits :
Clash + AB Norma l2 มิถุนายน พ.ศ. 2548
5. Smooth Clash 21 มีนาคม พ.ศ. 2549
6. Very Clash 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
7. FAN 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550
8. Clash Army : ชีวิต มิตรภาพ ความรัก 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
9. ROCKVOLUTION 7 กันยายน พ.ศ. 2552


โปรเจกต์พิเศษ
ลำดับที่ ชื่ออัลบั้ม วันวางแผง
1. Little Rock Project 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
2. PACK 4 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
3. Play 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คอนเสิร์ต
ลำดับที่ ชื่อคอนเสิร์ต วันแสดง วันวางแผง
1. Rock Size S Concert 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 14 มกราคม พ.ศ. 2547
2. Pack 4 Freedom Romantic Rock Concert 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 15 มกราคม พ.ศ. 2548
3. Seed Live Concert First Clash 11 มีนาคม พ.ศ. 2549 26 เมษายน พ.ศ. 2549
4. Clash Army Rock Concert 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 17 กันยายน พ.ศ. 2550
5. Maland Rock Day Concert #4
Rock Monster 28 กันยายน พ.ศ. 2551 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
6. Clash Army Rock Concert II สงครามรัก บนดนตรีร็อก 4 เมษายน พ.ศ. 2552 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ซิงเกิลพิเศษ
"หนึ่งมิตรชิดใกล้" (เพลงประกอบภาพยนตร์ บิวตี้ฟูลบ็อกเซอร์)
"Automatic Leader" (เพลงประกอบโฆษณารถมอเตอร์ไซค์)
"ขอเจอสักที (เซียนหรือเกรียน) " (เพลงประกอบโครงการรณรงค์ ไนกี้)
"ซากคน" และ "สักวันฉันจะไปหาเธอ" (เพลงพิเศษใช้เล่นประกอบละครในคอนเสิร์ต Clash Army Rock Concert และถูกรวมไว้กับอัลบั้ม FAN)
"GO!" (เพลงประกอบการแข่ง Thailand High School Football National Championship 2007)

อื่นๆ
ภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว (พ.ศ. 2547) (แบงค์)
พ็อคเก็ตบุ๊ค A Clash Rockumentory: DarkNote Studio (พ.ศ. 2551)
ภาพยนตร์เรื่อง ท้าชน (Fireball) (พ.ศ. 2552) (แบงค์)

ประวัติ ป้าง นคริน



นครินทร์ กิ่งศักดิ์ (ชื่อเล่น ว่า ป้าง)
วันเกิด24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510
อายุ47 ปี
อาชีพนักร้อง
การศึกษามัธยมต้น รร.เทพศิรินทร์ ท.ศ 21-23(95) มัธยมปลาย รร.เตรียมอุดมฯ ปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี สาขาการตลาด

รางวัลที่เคยได้รับ


ปี 2535 ได้รับรางวัล "วงดนตรี หน้าใหม่ยอดเยี่ยม" รางวัลสีสัน อะวอร์ด (ในฐานะ สมาชิกของวง "ไฮดร้า") รางวัลสีสันอวอร์ดส์ครั้งที่ 17 วันที่ 17 มี.ค.2548 ศิลปินชายร็อกยอดเยี่ยม นครินทร์ กิ่งศักดิ์ จากอัลบั้ม เลี่ยมทอง "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต รายงานผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในรอบปีที่ผ่านมาในหัวข้อ "ที่สุดแห่งปี 2547" โดย สุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศจำนวน 10,183 คน ในส่วนนักร้องเพลงไทยสากลชายที่ประชาชนชอบมากที่สุด ยังคงเป็นเบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ครองใจแฟนเพลงมากที่สุด ร้อยละ 37.38 อันดับถัดมาคือ ป้าง-นครินทร์ กิ่งศักดิ์ 34.65% Hitz 40 Awards

ผลงานที่ผ่านมา


ปี 2535 ก่อตั้งวง "ไฮดร้า" และทำอัลบั้ม "อัศเจรีย์"
ปี 2537 ผู้จัดการ ผลิตภัณฑ์เพลงไทย บ. โซนี่ มิวสิก
ปี 2538 แสดง คอนเสิร์ต "ไอ ซี ยู คอนเสิร์ต" ที่ MBK Hall มาบุญครอง
นำผลงาน อัลบั้ม "ไข้ป้าง" ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรี "Tokyo Music Festival" ที่ประเทศญี่ปุ่น
[แก้] ผลงานเพลง 
ดูเพิ่มที่ ไฮดร้า สำหรับผลงานในช่วงทำวงไฮดร้า 
พ.ศ. 2538 อัลบั้ม ไข้ป้าง (โซนี่ มิวสิก)
รายชื่อเพลง 1. สบายดี 2. ปีหน้า 3. เอื้อมไม่ถึง 4. คุยกับตัวเอง 5. ประตู 6. ที่ว่าการอำเภอ 7. คำตอบ 8. นานๆที 9. วันที่เลวร้าย 10. เลิกคอย 11. อยากเด็ก
พ.ศ. 2538 อัลบั้มบันทึกการแสดงสด ไฮไลท์ ไอซียู (โซนี่ มิวสิก) 
รายชื่อเพลง 1. เหตุผล 2. คุยกับตัวเอง 3. เอื้อมไม่ถึง 4. น.ส. หุ่นยนต์ 5. 30 ยังแจ๋ว 6. ประตู 7. สบายดี 8. คำตอบ
พ.ศ. 2540 อัลบั้ม ฉลองครบรอบ 30 ปี (โซนี่ มิวสิก) 
รายชื่อเพลง 1. แพ้ 2. พี่ชาย 3. หัวล้านใจน้อย 4. เรารักกัน 5. คนฉลาด 6. ไม่ใช่นางฟ้า 7. อำนาจ 8. กม.30 9. นามสกุล 10. หลังบ้าน
พ.ศ. 2542 อัลบั้ม ขายหน้า (โซนี่ มิวสิก) 
รายชื่อเพลง 1. นับหนึ่งถึงสิบ 2. โก๋แก่ 3. ผู้ชายร้องไห้ 4. สร้างมาเพื่อเธอ 5. หมอดู 6. โกหก 7. ช้าเหลือเกิน 8. ความสุขโดยตรง 9. เจ้าของ 10. เสียงกระซิบ 11. Family Man
พ.ศ. 2545 อัลบั้ม หัวโบราณ (จีราฟ เรคคอร์ดส์) 
รายชื่อเพลง 1. เธอมีจริง 2. แก้วตาขาร็อก 3. อากาศ 4. เขาหรือผม 5. คู่ชีวิต 6. จุดต่ำสุด 7. ความเป็นแม่ 8. ขบวนสุดท้าย 9. ใจเจ้าเอย 10. ความคาดหวัง
พ.ศ. 2547 อัลบั้ม เลี่ยมทอง (จีราฟ เรคคอร์ดส์) 
รายชื่อเพลง 1. แมน 2. คบไม่ได้ 3. สัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดปี 4. ผู้ชายไม่ได้เลว (กว่าหมาและมาจากท้องแม่) 5. หนังสือรุ่น 6. คุณเจ๋ง 7. มากพอ 8. ทำอะไรสักอย่าง 9. สัตว์ร้ายในตัวฉัน 10. คนหน้าใหม่
อัลบัมพิเศษ เป็นรีมิกซ์ แบบ cool กับ Hot ได้แก่ 
1. อยู่ไม่สุข (Hot) 2. สบายดี (Cool)
พ.ศ. 2550 อัลบั้ม ดอกเดียว (จีนี่ เรคคอร์ดส์) 
รายชื่อเพลง 1. กระดกลิ้น 2. ฉันอยู่คนเดียวได้? 3. เพลงเก่า 4. ซ้ำ 5. คนมันไม่ใช่ 6. คิดอะไรอยู่ 7. ไม่มีวันลืม 8. ดอกเดียว 9. ทฤษฏีจ่าฝูง 10. กำลังเดินทางอยู่

ประวัติ เบิร์ด ธงไชย


    ธงไชย แมคอินไตย์ (เบิร์ด) เกิดเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เป็นศิลปินขวัญใจมหาชนชาวไทย ทุกเพศ ทุกวัย ศิลปินระดับตำนานของเมืองไทย เป็นศิลปินนักร้องที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของประเทศไทย มียอดขายผลงานเพลงจากทุกอัลบั้ม มากกว่า 20 ล้านชุด เป็นที่นิยมของมหาชนยาวนาน มากกว่ายี่สิบปี โดยที่ความนิยมไม่เสื่อมคลาย ปัจจุบันคือ ซุปเปอร์สตาร์อันดับ 1 ของประเทศไทย สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ธงไชย แมคอินไตย์ เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาค พ.ศ. 2501 มีชื่อภาษาอังกฤษว่า "อัลเบิร์ท แมคอินไตย์" (Albert McIntyre) เป็นบุตรคนที่ 9 ในจำนวนพี่น้อง 10 คน ของคุณพ่อเจมส์ และคุณแม่อุดม แมคอินไตย์ โดยครอบครัว “แมคอินไตย์
เบิร์ดเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนนิมมานรดี แล้วไปต่อระดับมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนปัญญาวรคุณ จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับอนุปริญญาสาขาการจัดการ ที่วิทยาลัยพาณิชยการธนบุรี ความที่เป็นคนสนุกสนาน ร่าเริงอัธยาศัยดี เบิร์ดจึงเป็นที่รักใคร่ของครูอาจารย์และเพื่อนฝูง ความเป็นคนสุภาพ มีสัมมาคารวะ ทำให้ได้รับรางวัลมารยาทดีจากโรงเรียน และนอกจากนั้น เบิร์ดยังรักที่จะทำกิจกรรมต่างๆ เช่นเป็นนักกีฬาฟุตบอล และบาสเกตบอลของโรงเรียนเป็นต้น
และเพราะเติบโตมาในครอบครัวที่รักดนตรี ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายแห่งเสียงเพลง เบิร์ดจึงเป็นเด็กที่ชอบร้อง รำ ทำเพลง เวทีในงานโรงเรียนคือสถานที่แห่งแรกที่เบิร์ดได้แสดงพรสวรรค์ของตนเองออกมา ทุกครั้งที่มีการแสดง ไม่ว่าร้องเพลงหรือเล่นละคร หนึ่งคนบนเวทีนั้นจะมีเบิร์ดอยู่ด้วยเสมอ
เมื่อเรียนจบ เบิร์ดได้เข้าทำงานที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาท่าพระ ฝ่ายต่างประเทศ และหารายได้เพิ่มเติมด้วยการทำงานอื่นๆ ไปด้วย อาทิ ถ่ายแบบ ถ่ายโฆษณา จนกระทั่งได้รับการชักชวนจากวรายุทธ มิลินทจินดา ให้แสดงละครเรื่อง “น้ำตาลไหม้” ทางช่อง 3 ซึ่งส่งให้เบิร์ดเป็นที่รู้จัก และกล่าวถึงในฐานะนักแสดงหน้าใหม่ที่มีความสามารถ
ก่อนเข้าวงการเพลง เบิร์ดรักการร้องเพลงมากเคยตระเวนร้องตามเวทีนักร้องลูกทุ่งของ ศรเพชร เพชรสุวรรณ แต่ทั้งคู่ก็ไม่เคยเจอกันเลย
ก่อนออกเทป เบิร์ด เป็นพิธีกรในรายการ7 สีคอนเสิร์ต ร่วมกับ มยุรา ธนบุตร
จุดสำคัญที่ทำให้เบิร์ดเข้าสู่วงการเพลงเต็มตัว คือ การเข้าสู่วงการเพลง เบิร์ด – ธงไชยเข้าแข่งขันประกวดร้องเพลงของสยามมิวสิกฟาวเดชั่น ปี 2526 กวาดไปถึง 3 รางวัล เด่นสุดคือรางวัลนักร้องดีเด่น จากเพลง ชีวิตคือละคร และได้เต๋อ – เรวัต พุทธินันทน์ เป็นผู้ชักนำและเป็นโปรดิวเซอร์ให้
ธงไชย ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ ศิลปบัณฑิต คณะนาฎศิลปและดุริยางค์ - ดนตรีสากล จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี



ประวัติ ปั๊บ potato


ชื่อ - สกุล:พัฒน์ชัย ภักดีสู่สุข
ชื่อเล่นปั๊บ
วันเกิด:2 พฤศจิกายน 2524
สถานะ:โสด
อายุ:31 ปี
ส่วนสูง:171 ซม.
น้ำหนัก:58 กก.
ประเภทดารา:นักร้อง

การศึกษา
ปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการโฆษณามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สิ่งที่ชื่นชอบ
สีที่ชอบ เหลือง , ครีม
แนวดนตรีที่ชอบ ฟังได้หมด แต่ที่ชอบที่สุดคือ ร็อค
ศิลปินที่ชอบ
ศิลปินในดวงใจ Incubus
นิสัยส่วนตัว
คติประจำใจ"การมีชีวิตอยู่บนโลก ต้องไม่โกหกความรู้สึกตัวเอง"
อาหารที่ชอบ
ทุกอย่าง (กินง่าย)

ผลงานที่ผ่านมา

ปี 2544 อัลบั้ม Potato สังกัด Grammy G
ปี 2546 อัลบั้ม Go..on สังกัด Music cream
ปี 2547 อัลบั้ม Focus สังกัด Music cream
ปี 2547 อัลบั้ม Pack4 สังกัด Music cream
ปี 2548 อัลบั้ม Life สังกัด Music cream
ปี 2549 อัลบั้ม The Potato Collection สังกัด Music cream
โฆษณา ชุด suzuki



ประวัติ บี้ สุกฤษฎิ์



  • สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว
  • บี้
  • Friday, April 09, 2528
  • โสด
  • 29 ปี
  • 175 ซม.
  • 66 กก.
  • นักร้องและนักแสดง
  • การศึกษา

    • ประถมศึกษา - มัธยมศึกษา โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
    • ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์

    งานอดิเรก

    • ร้องเพลง
    • เล่นอินเตอร์เนท

    สิ่งที่ชื่นชอบ

    • แนวเพลงที่ชอบ ป๊อป

    ศิลปินที่ชอบ

    • บอย พีซเมกเกอร์

    นิสัยส่วนตัว

    • รักสนุก สบายๆ ไม่เรื่องมาก ชอบมุขฝืด (มุขแป้ก)

    รางวัล

    • รางวัลเพลงรักแห่งปี - “I Need Somebody” (อยากขอสักคน) อินยังเจเนอเรชันชอยส์
    • รางวัลเพลงยอดนิยมสุดซี้ดประจำปี - “I Need Somebody” (อยากขอสักคน) ซี๊ด อวอร์ดส์ 2007
    • รางวัล Vergin Hitz 2007 หนึ่งในเพลงฮิตที่สุดแห่งปี - “เพลง โทรมาว่ารัก”
    • รางวัลเพลงยอดนิยม - “I Need Somebody” (อยากขอสักคน) สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส ครั้งที่ 5
    • รางวัลนักร้องชายยอดเยี่ยม ออดิชั่น มิวสิก อวอร์ดส
    • รางวัลนักร้องไทย-สากลชายยอดนิยม สยามดารา
    • รางวัลศิลปินเดี่ยวยอดนิยม สุดสัปดาห์ 2008
    • รางวัลนักร้องยอดเยี่ยม ท็อปอวอร์ด 2008
    • รางวัลขวัญใจมหาชน ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 2
    • การขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทไทยสากลชาย กระทรวงวัฒนธรรม
    • รางวัลลูกกตัญญู สภาสังคมสงเคราะห์ฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์
    • รางวัลพรีเซนเตอร์ชายยอดนิยม นิตยสาร OHO
    • รางวัลศิลปินชาย Hot แห่งปี ทีวีอินไซด์ ฮอต อวอร์ด 2009
    • โล่เกียรติคุณเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552
    • รางวัลสาขาละครโทรทัศน์ “พระจันทร์สีรุ้ง” สื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ครั้งที่ 3
    • รางวัลศิลปินเดี่ยวยอดนิยม สุดสัปดาห์ 2009
    • รางวัลนักร้องชายสุดปลื้ม ขวัญใจสื่อมวลชน
    • รางวัลนักแสดงชายยอดนิยม คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 7
    • รางวัลนักร้องยอดเยี่ยม ท็อปอวอร์ด 2009
    • รางวัลสุดยอดศิลปินเดี่ยวแห่งปี จีเมมเบอร์ อวอร์ดส 2009
    • รางวัลสุดยอดเพลงดังแห่งปี “เพลง มากมาย” จีเมมเบอร์ อวอร์ดส 2009
    • รางวัลมิวสิกวิดีโอเพลงไทยสากลดีเด่น “เพลง ฮัก (Hug)” จีเมมเบอร์ อวอร์ดส 2009
    • รางวัลมิวสิกวิดีโอ สาขาสามัคคีคือพลังยอดเยี่ยม “เพลง ฟิตหัวใจ” ไฟว์ไลฟ์ มิวสิก วีดีโอ อวอร์ด 2010
    • รางวัลละครโทรทัศน์แห่งปี “พระจันทร์สีรุ้ง” ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3
    • รางวัลขวัญใจมหาชน ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3
    • รางวัลศิลปินยอดนิยมสุดซี้ดประจำปี จากอัลบั้ม “ฮักบี้” ซี๊ด อวอร์ดส์ 2010
    • รางวัลนักร้องชายยอดนิยม จากอัลบั้ม “ฮักบี้” สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส ครั้งที่ 8
    • รางวัลละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม “พระจันทร์สีรุ้ง” สยามดาราสตาร์อวอร์ด 2010
    • รางวัลสตาร์ป็อปปูลาร์โหวต สยามดาราสตาร์อวอร์ด 2010
    • รางวัลเยาวชนคนดี ศรีนันทนาการ
    • รางวัลศิลปินชายยอดนิยม จีเมมเบอร์ อวอร์ดส 2010
    • รางวัลเพลง POP ยอดนิยม “เพลงรัก” จีเมมเบอร์ อวอร์ดส 2010
    • รางวัลนักร้องยอดนิยม มายาป็อปปูลาร์โหวต
    • รางวัลศิลปินยอดนิยมสุดซี้ดประจำปี จากอัลบั้ม “It's alright” รางวัลซี๊ด อวอร์ดส์ 2011
    • รางวัลขวัญใจมหาชน ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 4
    • รางวัลคนเดียวเปรี้ยวได้ แบงค์อวอร์ด ครั้งที่ 1
    • รางวัลนักร้องชายที่สุดแห่งปี ดาราเดลี่อวอร์ดส 2011
    • รางวัลพระเอกยอดนิยม จากละครเรื่อง “ดอกรักริมทาง” เทศกาลละครแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน
    • รางวัลศิลปินยอดนิยม สุดสัปดาห์
    • รางวัลนักร้องเพลงไทยสากลยอดนิยม คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 9
    • รางวัลศิลปินเพลงไทยสากลชายดีเด่นยอดนิยม รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24
    • รางวัลขวัญใจมหาชน ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5
    • รางวัลเกิดมาป๊อป เกิด อวอร์ด ครั้งที่ 1
    • รางวัลสุดยอดอัลบั้มแห่งปี จากอัลบั้ม “รักนะคะ” จีเมมเบอร์ อวอร์ดส 2011

    อาหารที่ชอบ

    • ไก่ทอด KFC

ประวัติ ปาล์มมี่


ปาล์มมี่ 





ชื่อจริง     อีฟ ปานเจริญ            ชื่อเล่น    ปาล์มมี่ 
วันเกิด      7 ส.ค. 2524                ราศี    กรกฏ 
การศึกษา      High School ที่ Holy Cross College (Sydney, Australia) 
แนวเพลงโปรด     โฟล์คร็อค 
ศินปินที่ชอบ       Bic Runga นักร้องชาวมาเลย์ 
ผลงานอื่นๆ แต่งเนื้อเพลง     "ใจหายไปเลย" ของ มิสเตอร์ทีม เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ เป็นเพลง "ONE LOOK ONE TOUCH", ร้องคอรัสเพลง "รู้ตัวว่าดีไม่พอ" ของ "ตุ้ย ธีรภัทร์" 
แนวเพลง      ป๊อปร็อค 
สังกัด      อาร์พีจี 


          ปาล์มมี่เป็นสาวลูกครึ่ง ไทย-เบลเยี่ยม เธอใช้ชีวิตเรียบง่าย สบายๆ เรียนอนุบาลจนถึง ม.2 ที่โรงเรียนพระแม่มารี (เซนต์หลุยส์) จนอายุได้ 12 ปี แล้วจึงเดินทางไปอยู่กับคุณแม่ที่ออสเตรเลีย 
ที่ออสเตรเลีย ปาล์มมี่ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของอีกโลกหนึ่ง ทั้งดนตรี ศิลปะ ซึ่งเข้ามามีผลต่อชีวิตเธออย่างมาก เธอชอบเรียน วิชาศิลปะ ที่โรงเรียน เวลาที่เหลือก็มักจะเข้าไปพิพิธภัณฑ์และ แกลอรี่เพื่อ ดูนิทรรศการศิลปะ นอกจากนั้นเธอยังชอบร้อง คาราโอเกะกับเพื่อนๆ และเดินเข้าออกร้านเทปทุกวัน เธอฟังเพลงทุกแนว และเริ่มสนใจ การร้องเพลง 

          ปาล์มมี่เริ่มฝึกฝนการร้องเพลงด้วยตัวเอง อย่างจริงจังจน ดึกดื่น ทุกวัน เธอตัดสินใจเดินทางกลับมา หาโอกาสที่ แกรมมี่พร้อม เทปเดโม เพลงที่เธอแต่งเองร้องเอง และวันนั้นเอง เธอก็ได้เข้ามาเป็น ศิลปิน ในสังกัด อาร์พีจี เริ่มต้นด้วยการเขียนเนื้อเพลง "ใจหายไปเลย" ในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ จากนั้นก็มาร้องคอรัส ในเพลง "รู้ตัวว่าดีไม่พอ" ของ "ตุ้ย" จากนั้นเดือน ธ.ค. เธอก็มีอัลบั้ม ของตัวเองออกมา 

           เพลงในอัลบั้ม PALMY จะออกไปในทางป๊อปร็อค นำเสนอตัวตน ที่มีความคิดเป็นอิสระ หลงใหลกับความสุขทางดนตรี เน้นบรรยากาศ และรายละเอียดของอารมณ์ความรู้สึก และเพียงเวลาไม่นาน หลังจากปล่อยเพลง "อยากร้องดังดัง" ออกอากาศตามรายการวิทยุ ทุกๆคนก็ได้รู้จักความเป็นตัวตนของเธอ

ประวัติ แสตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข



ประวัติ แสตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข

อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนบางกะปิ และระดับปริญญาตรีจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มสนใจงานเพลงเริ่มจากการสร้างสรรค์ผลงานเพลงประกอบละครเวทีสถาปัตย์ฯ และยังรวมตัวกับเพื่อนๆ ตั้งวงดนตรี ส่งเพลงไปที่ 104.5 Fat Radio ซึ่งเป็นจุดพลิกผันให้แสตมป์ ได้พบเจอกับพี่ๆ ในวงการเพลง และมีโอกาสนำผลงาน ออกสู่สายตาประชาชน มีผลงานอัลบั้มแรกของตนเองชื่อ 7thSCENE กับวง 7thSCENE สังกัด เลิฟอีส ในพ.ศ. 2548

ผลงานเพลงที่แต่งโดยแสตมป์
*เพลงประกอบละครหมอสามชั้น (ช่อง7)
*รู้สึกแย่ เพลงละครมาเฟียที่รัก (ช่อง 3)
*รักคุณเข้าอีกแล้ว, หวานขม ในอัลบั้ม Bitter sweet: Boyd-Pod
*น้ำตา ในอัลบั้ม Simply Bird: ธงไชย แมคอินไตย์
*เงินล้าน, BTS ในอัลบั้ม ทิงนองนอย: โมเดิร์นด๊อก
*แค่เพียงฉันและเธอ – Friday
*ร่วมแต่งเพลง “ชัยชนะ” เพลงแห่งความภาคภูมิใจของชาวไทย จากกีฬาโอลิมปิค 2008
*ราตรีสวัสดิ์ – ฟักกลิ้งฮีโร่
*ฝัน หวาน อาย จูบ จากภาพยนตร์ ฝัน/หวาน/อาย/จูบ
*ผู้ชายใจเย็น – โฟร์ มด
*มีอีกคนไหม – siska
*ขึ้นอยู่ที่เธอ, ได้ทั้งนั้น – FFK (เนื้อร้อง)
*ชีวิตหลังความเจ็บ – แดน วรเวช
*is this love?, ไม่เคยไม่รักเธอ – Better Weather
*คุณเก็บความลับได้ไหม? – Armchair
*นัก (แอบ) รัก – เบล สุพล (เนื้อร้อง)
*แสนดี – โครงการแสนสิริ
*ทฤษฎีสีชมพู ประกอบหนังสือ Soundtrack of my love
*แปลว่าขอบคุณ – เค้ก B5
*กลุ้ม – Boyd-Nop
*ลืมไปก่อน – บุดดาเบส
*จะเอาเวลามาจากไหน – ขนมจีน (แต่งทำนอง)
*ถึงกันตลอด, อยู่ที่ไหน, กลั้นหายใจ – โต๋ ศักดิ์สิทธิ์
*ตกสำรวจ – โจ
*ความจริง – อิชย์ AF6
*ผิดมากไหม – ซานิ Af6
*มันคงเป็นความรัก, โชคดี (เพลงประกอบภาพยนตร์ 30 กำลังแจ๋ว)
*ปาล์มมี่ – Rock Star Syndrome